วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แนะแนวการสอบตรง


แผนการสอน


แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้    กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน   ภาคเรียนที่ 2                                    ปีการศึกษา  2555
วิชา แนะแนว                                                       รหัสวิชา .......                                     ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5
สัปดาห์ที่                                                               คาบที่                                                     วันที่
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1                                          เรื่อง การรับตรง และสอบตรง         จำนวน 2 ชั่วโมง
1.  ความคิดรวบยอดหลัก/ แนวคิดสำคัญ
                การรู้จักระบบในการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาถ้านักเรียนมีความใส่ใจและเข้าใจในระบบการคัดเลือกได้อย่างชัดเจนจะทำให้นักเรียนมีความพร้อมในการเตรียมตัวที่จะสมัครสอบศึกษาต่อในระดับอุดมศีกษาได้
2. จุดประสงค์
1.  นักเรียนได้เข้าใจถึงความหมาย และความสำคัญของระบบการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
2.  นักเรียนรู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง รู้จักจุดเด่นและจุดด้อยของตนเองเพื่อที่จะได้วางแผนการในการเลือกสอบให้ตรงกับความต้องการของตัวนักเรียนเอง เพื่อความสำเร็จในอนาคต
3. เนื้อหา/สาระ
1. ความหมายและความสำคัญของระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาการรับตรงและสอบตรง            
4. กิจกรรม
คาบที่ 1
1. ครูอธิบายถึงความสำคัญของระบบในการสมัครสอบเข้าศีกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในยุคปัจจุบัน
5. สื่อ
1.  ใบความรู้เรื่องการสอบการรับตรง และการสอบตรง
2. แบบทดสอบก่อนและหลังเรื่องการสอบการรับตรง และการสอบตรง
6. วิธีการวัดและประเมินผล
        การตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็นของนักเรียน
7. บันทึกการจัดการเรียนรู้
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1
นักเรียนให้ความร่วมมือ และให้ความสนใจในเรื่องที่ครูผู้สอนได้สอนอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง รวมถึงนักเรียนมีความเข้าใจในระบบการสอบตรงและการรับตรงมากขึ้น
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2
นักเรียนให้ความร่วมมือ และให้ความสนใจในเรื่องที่ครูผู้สอนได้สอนอยู่ในเกณฑ์ดี มีความพร้อม และศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในระบบการสอบตรงและการรับตรงมากขึ้น
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3
นักเรียนให้ความร่วมมือ และให้ความสนใจในเรื่องที่ครูผู้สอนได้สอนอยู่ในเกณฑ์ดี มีความพร้อม และศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในระบบการสอบตรงและการรับตรงมากขึ้น
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4
นักเรียนให้ความร่วมมือ และให้ความสนใจในเรื่องที่ครูผู้สอนได้สอนอยู่ในเกณฑ์ดี มีความพร้อม และศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในระบบการสอบตรงและการรับตรงมากขึ้น

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5
นักเรียนให้ความร่วมมือ และให้ความสนใจในเรื่องที่ครูผู้สอนได้สอนอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง รวมถึงนักเรียนมีความเข้าใจในระบบการสอบตรงและการรับตรงมากขึ้น
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/6
นักเรียนให้ความร่วมมือ และให้ความสนใจในเรื่องที่ครูผู้สอนได้สอนอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง รวมถึงนักเรียนมีความเข้าใจในระบบการสอบตรงและการรับตรงมากขึ้น
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/7
นักเรียนให้ความร่วมมือ และให้ความสนใจในเรื่องที่ครูผู้สอนได้สอนอยู่ในเกณฑ์ดี มีความพร้อม และศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในระบบการสอบตรงและการรับตรงมากขึ้น

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/8
นักเรียนให้ความร่วมมือ และให้ความสนใจในเรื่องที่ครูผู้สอนได้สอนอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง รวมถึงนักเรียนมีความเข้าใจในระบบการสอบตรงและการรับตรงมากขึ้น


ลงชื่อ………………………………………

                                                                                                                  (ม.พงษ์กิจ เจริญพร)
                                                                                                                           ครูผู้สอน

ใบงาน



ใบงาน เรื่อง การรับตรงและการสอบตรงในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
     
1.             อธิบายความหมายระบบการรับตรง(ตามความเข้าใจของนักเรียน)
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

2.             อธิบายระบบการสอบตรง(ตามความเข้าใจของนักเรียน)
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
    
3.             ระบบการรับตรงและสอบตรงมีความแตกต่างกันอย่างไร
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
    
4.          ระบบการสอบCLEANINGHOUSEนักเรียนคิดว่าเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาของการศึกษาไทยหรือไม่อย่างไร
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

5.             นักเรียนอธิบายขั้นตอนการรับสมัครการรับตรง และสอบตรง
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน


แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องการรับตรงและสอบตรงในการเข้าศึกษาต่อในระดับ
อุดศึกษา
ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1.              ปัจจุบันเส้นทางในการเข้าสู่มหาวิทยาลัยมีหลากหลายวิธีวิธีไหนที่มีอัตราส่วนในการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามากที่สุด
ก.      ระบบADMISSIONS
ข.      ระบบรับตรง
ค.      ระบบรับตรงและสอบตรง
ง.       ถูกทุกข้อ

2.              ระบบของการรับตรงและสอบตรงมีกี่รูปแบบ
ก.      1 รูปแบบ
ข.      2 รูปแบบ
ค.      3 รูปแบบ
ง.       4 รูปแบบ

3.              หน่วยงานใดที่เป็นคนจัดการในเรื่องการแบ่งกลุ่มของการรับตรงและการสอบตรงเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
ก.      สทอ.(ระบบการสอบคัดเลือกกลางเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย)
       ค.   สช.(สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน)
       ง.    กระทรวงศึกษาธิการ
     
     
 
4.              ในการสมัครสอบรับตรงและสอบตรงส่วนมากแล้วทางมหาวิทยาลัยจะพิจารรณเกรดเฉลี่ยรวม(GPA.)ทั้งหมดกี่เทอมจึงจะสามารถสมัครสอบรับตรง และสอบตรงได้
ก.      1 เทอม (ม.4 เทอม 1)
ข.      2 เทอม (ม.4 เทอม 1 และ ม.4 เทอม2)
ค.      3 เทอม (ม.4 เทอม 1 , ม.4 เทอม2 และ ม.5 เทอม 1)
ง.       4 เทอม (ม.4 เทอม 1 , ม.4 เทอม2 , ม.5 เทอม 1 และ ม.5 เทอม 2)

5.              หน่วยงานใดที่เป็นผู้ออกข้อสอบของระบบการสอบCLEANING HOUSE
ก.      สทอ.(ระบบการสอบคัดเลือกกลางเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย)
       ค.   สช.(สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน)
       ง.    กระทรวงศึกษาธิการ
   
 ให้นักเรียนใส่ (ก) ในข้อที่ถูก และใส่ (ข) ในข้อที่ผิด

1.             ขั้นตอนแรกในการสมัครสอบรับตรงหรือสอบตรงจะต้องดูที่คุณสมบัติที่สทศ.ก่อน
2.             ในการจัดระบบการสอบตรงมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้ที่ออกระเบียบการ คุณสมบัติ และข้อสอบด้วยตนเอง
3.             การรับตรงในบางครั้งอาจจะใช้คะแนนของ GAT/PAT ครั้งที่ 1 เป็นเครื่องมือในการทดสอบ
4.             เครื่องมือที่ใช้ทดสอบในระบบ CLEANING HOUSE เรียกว่า 7 วิชาสามัญ
5.             ในการสอบเข้าในระดับอุดมศึกษาในยุคปัจจุบันอัตราส่วนพื้นที่ของการรับตรงและสอบตรงมีประมาณ30%และADMISSIONSประมาณ 70%




ระบบการสอบเข้าศึกษาต่อในยุคปัจจุบัน (ระบบสอบตรง และระบบรับตรง)


ระบบ Admissions ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ ทำให้การสอบเข้ามหาวิทยาลัยต้องมีการวางแผนการสอบ เพราะปัจจุบันเส้นทางในการเข้าสู่มหาวิทยาลัยมีหลากหลาย ทั้งการรับตรง สอบตรง ซึ่งมีมากถึง 70% ส่วนพื้นที่ของการ Admissions เหลือเพียง 30% เท่านั้น...

          มหาวิทยาลัยในประเทศไทยมี 226 แห่ง 2000 สาขาวิชา นักศึกษาปริญญาตรี 1,800,000 คนและบัณฑิตศึกษา 300,000 คน อัตราคนจบปริญญาตรีแล้วว่างงาน มีจำนวนมากถึง 300,000คน และยังมีผู้ที่ได้งาน ทำงานต่ำกว่าวุฒิอีกจำนวนมาก และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ทำให้ต้องมีการวางแผน เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยของเด็ก ม.6

          ดังนั้น การเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับการสอบตรง รับตรงที่ปัจจุบันมีพื้นที่สูงถึง 70% นั้น นักเรียน ต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจกับระบบของการรับตรง ซึ่งมี 2 แบบ คือผ่านระบบ Clearing House และ ไม่ผ่านระบบ Clearing House โดย สอท. แบ่งการการคัดเลือกการสอบเข้าของมหาวิทยาลัยออกเป็น  2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมเคลียริ่งเฮ้าส์
ในกลุ่มนี้มหาวิทยาลัยอาจจะจัดสอบเอง ใช้ข้อสอบวิขาสามัญ 7 วิชา จาก สทศ. เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก ซึ่งขึ้นอยู่กับระเบียบการของแต่ละคณะแต่ละมหาวิทยาลัย สิ่งสำคัญคือ โครงการรับตรงในกลุ่มนี้ จะส่งรายชื่อนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกทั้งหมดเข้าสู่ศูนย์ประสานการรับตรง หรือ เคลียร์ริ่งเฮาส์  ซึ่ง จะต้องยื่นยันสิทธิ์การเข้าศึกษา หรือเลือกคณะที่ตนเองต้องการในช่วงเวลาที่กำหนดพร้อมกัน หมายความว่า ผู้ที่มีรายชื่อผ่านการสอบข้อเขียน หรือการสอบสัมภาษณ์แล้ว ยังไม่ได้มีสิทธ์เป็นนักศึกษาทันที แต่ต้องยื่นยันสิทธิ์เลือกครั้งสุดท้าย ผ่านเคลียริ่งเฮาส์ ก่อน หากไม่มีการยืนยันสิทธิ์ในช่วงเวลาที่กำหนด จะถือว่าสละสิทธิ์ในทุกๆ โครงการ
2. กลุ่มมหาวิทยาลัยที่ไม่เข้าร่วมเคลียริ่งเฮาส์
เป็นโครงการรับตรงที่มหาวิทยาลัยดำเนินการเปิดรับเอง โดยการสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ ขึ้นอยู่กับระเบียบการของแต่ละมหาวิทยาลัย เมื่อนักเรียนผ่านการคัดเลือกแล้ว ต้องดำเนินการยืนยันสิทธิ์ที่จะเข้าศึกษากับทางมหาวิทยาลัยก่อน จึงจะเป็นผู้มีสิทธิ์เป็นนักศึกษาได้จริง แต่อย่างไรก็ตามระบบนี้ยังเปิดโอกาสให้น้องๆ สามารถยื่นสละสิทธิ์ได้หากเปลี่ยนใจภายหลัง แต่ต้องยื่นในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น เพราะ มหาวิทยาลัยจะต้องส่งรายชื่อนักเรียนที่ยืนยันสิทธิ์แล้ว เพื่อทำการตัดสิทธิ์ ในระบบ Admission ต่อไปนั่นเอง สิ่งที่สำคัญของการรับตรงกลุ่มนี้ หลังจากการประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกแล้ว จะต้องยื่นยันสิทธิ์กับทางมหาวิทยาลัย ภายในกำหนด และหากเปลี่ยนใจก็ต้องยื่นสละสิทธิ์ภายในช่วงเวลาที่กำหนดเช่นกัน ทั้งนี้จะมีบางโครงการที่ตัดสิทธิ์ระบบAdmission ทันทีที่ยืนยันสิทธิ์ ฉะนั้น ต้องระมัดระวังและอ่านทำความเข้าใจในระเบียบของแต่ละโครงการให้รอบคอบ
1              ระบบสอบตรง
เป็นระบบการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยทางมหาวิทยาลัยต่างๆเป็นคนกำหนด ทั้ง
- คุณสมบัติต่างๆ เช่น เกรดเฉลี่ยสะสม 4 หรือ 5 ภาคเรียน ( ม.4 เทอม1 - ม. 5 เทอม1)
- คุณสมบัติเฉพาะ เช่น รางวัลต่างๆที่ ได้รับ ใบประกาศต่างๆ ผลงาน หรือรางวัลที่นักเรียนได้รับมา
ระบบสอบตรงนี้ทางมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้ออกข้อสอบเองทั้งหมด

หมายเหตุ : - นักเรียนที่สนใจที่จะสมัครสอบตรงจะต้องผ่านคุณสมบัติทุกข้อที่ทางมหาวิทยาลัยเป็นคนกำหนดถึงจะสมัครสอบได้
                   - ส่วนใหญ่แล้วถ้านักเรียนสอบระบบสอบตรงติดแล้วทางสทศ.จะทำการตัดสิทธิ์ในการADMISSION กลาง
2        ระบบรับตรง
- เป็นระบบการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยทางมหาวิทยาลัยต่างๆเป็นคนกำหนด ทั้ง
- คุณสมบัติต่างๆ เช่น เกรดเฉลี่ยสะสม 4 หรือ 5 ภาคเรียน ( ม.4 เทอม1 - ม. 5 เทอม1)
- คุณสมบัติเฉพาะ เช่น รางวัลต่างๆที่ ได้รับ ใบประกาศต่างๆ ผลงาน หรือรางวัลที่นักเรียนได้รับมา
ระบบรับตรงนี้ทางมหาวิทยาลัยจะเป็นไม่ได้เป็นผู้ออกข้อสอบเองแต่จะกำหนดในการยืนคะแนนอย่างอื่นแทนการสอบ เช่น ใช้คะแนน GAT/PAT รอบที่ 1 ในการยื่นคะแนน หรือ ใช้คะแนนของ7วิชาสามัญในการยื่นคะแนน เพื่อเป็นการทดสอบว่านักเรียนจะได้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่นักเรียนสนใจหรือไม่

หมายเหตุ : - นักเรียนที่สนใจที่จะสมัครรับตรงจะต้องผ่านคุณสมบัติทุกข้อที่ทางมหาวิทยาลัยเป็นคนกำหนดถึงจะสมัครสอบได้
- ส่วนใหญ่แล้วถ้านักเรียนติดระบบรับตรงติดแล้วทางสทศ.จะทำการตัดสิทธิ์ในการADMISSION กลาง                                             - ในการยื่นคะแนต่างๆจะมีเปอร์เซนต์ในแต่ละคณะ และแต่ละมหาวิทยาลัยไม่เท่ากัน เช่น คณะวิศวะกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ใช้คะแนน Gat 25% Pat 1 25% และ Pat3 50 % เป็นต้
การเตรียมความพร้อมและเทคนิคในการสอบตรง และการรับตรง
                การสอบตรงในปัจจุบันประกอบด้วย 3 รูปแบบหลัก (แต่ละมหาวิทยาลัยไม่เหมือนกัน)
แบบที่ 1  ผ่านคุณสมบัติ  -> สอบข้อเขียน -> สอบสัมภาษณ์ + ดู Portfolio
แบบที่ 2  ผ่านคุณสมบัติ  -> สอบข้อเขียน + GAT-PAT รอบที่ 1 -> สอบสัมภาษณ์ + ดู Portfolio(บางที่อาจจะใช้ 7 วิชาสามัญด้วย)
แบบที่ 3  ผ่านคุณสมบัติ  -> สอบสัมภาษณ์ + ดู Portfolio
คุณสมบัติ            
ในการสอบตรง และรับตรงมหาวิทยาลัยจะพิจารณานักเรียนที่มีคุณสมบัติและความสามารถตรงกับความต้องการของคณะ/สาขา เพื่อที่นักเรียนจะสามารถประสบความสำเร็จในการเรียนและการทำงานต่อไป
การสอบข้อเขียน
                ข้อสอบในการสอบตรงของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้น จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าโครงการนั้นต้องการนักเรียนที่มีความสามารถด้านใด เช่น สอบตรงนิติ มธ. ต้องการนักเรียนที่มีความสนใจด้านกฎหมายและมีความสามารถในการจับใจความ ข้อสอบก็จะออกเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายเบื้องต้นและการเขียนเรียงความ ย่อความ ดังนั้นนักเรียนที่จะเตรียมพร้อมกับการสอบตรง โดยหาข้อมูลเกี่ยวกับคณะ/สาขานั้น ว่าต้องการนักเรียนที่มีความสามารถด้านใดบ้าง และศึกษาแนวข้อสอบตรงของคณะ/ สาขานั้นๆ เพื่อจะได้เตรียมพร้อมก่อนการสอบ
การสอบสัมภาษณ์
            การสอบสัมภาษณ์มีส่วนสำคัญอย่างมากในการคัดเลือก นักเรียนที่ผ่านคุณสมบัติและผ่านการสอบข้อเขียน จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการสอบสัมภาษณ์ โดยส่วนมากจะเป็นลักษณะการสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการ และการสอบสัมภาษณ์เพื่อประเมินความพร้อมและความสนใจในคณะ/สาขา มหาวิทยาลัยนั้นๆ
                การสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการ จะเป็นการถามตอบเชิงวิชาการ ลักษณะข้อสอบเหมือนกับข้อสอบอัตนัย  โดยข้อสอบจะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องที่เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ยกตัวอย่าง การสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการของคณะ/สาขาด้านคอมพิวเตอร์ ช่วยอธิบายความหมายคำว่า OS ให้ฟังหน่อยซิครับหรือ การสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการของคณะ/สาขาด้านภูมิศาสตร์ พายุไซโคลน หมายถึงอะไรการสอบแบบนี้นักเรียนที่มีความชอบและถนัดในด้านนั้นอยู่แล้วจะสามารถสอบผ่านได้โดยไม่ยาก นักเรียนจะต้องเตรียมพร้อมโดยศึกษารายละเอียดรายวิชาที่ต้องเรียนของคณะ/สาขานั้น และศึกษาเนื้อหาล่วงหน้าในเรื่องที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ ก็จะช่วยให้มีนักเรียนความมั่นใจและสามารถตอบคำถามได้
การสอบสัมภาษณ์เพื่อประเมินความพร้อมและความสนใจ  จะเป็นการสอบเพื่อวัดความพร้อมและความสนใจของนักเรียน ว่ามีความสนใจที่จะเข้าเรียนมากน้อยเพียงใด  คำถามที่มักจะพบบ่อยเช่น  วันนี้คุณมาทำอะไร?”  ทราบหรือไม่ว่าคณะนี้เรียนเกี่ยวกับอะไร?” หรือ คำถามที่เกี่ยวกับสาขานั้น เช่น สังคมสงเคราะห์ในคำคิดของคุณหมายความว่าอย่างไรเป็นคำถามที่ไม่ยากแต่จะต้องเตรียมตัว โดยศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับคณะ/สาขานั้น ก่อนที่จะสอบสัมภาษณ์
Portfolio
                อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญและนักเรียนจะต้องเตรียมไปในวันสอบสัมภาษณ์คือ แฟ้มสะสมผลงาน หรือ Portfolio ซึ่งจะเป็นส่วนจะช่วยให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกได้ง่ายยิ่งขึ้น  Portfolioที่ดีจะต้องบ่งบอกความเป็นตัวของตัวเอง คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณไม่จำเป็นต้องนำผลงานทุกอย่างลงในแฟ้ม แต่จะต้องเป็นผลงานที่เกี่ยวข้องกับคณะ/สาขา ที่เรากำลังจะไปสัมภาษณ์จึงจะดีที่สุด